กำลังจะเปิดกิจการร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าต้องการพนักงานตำแหน่งไหนบ้าง? ไม่แน่ใจว่าต้องใช้พนักงานกี่คนในการเตรียมและเสิร์ฟอาหาร?
อันที่จริง คุณอาจจะต้องการพนักงานมากกว่าที่คุณคิด!
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงตำแหน่งของพนักงานในร้านอาหาร และหน้าที่ของพนักงานในแต่ละตำแหน่ง
นอกจากนี้ เราจะยกตัวอย่างผังองค์กรที่มีตำแหน่งเหล่านี้ว่าควรมีลักษณะอย่างไร
บทความนี้จะอธิบายถึงความสำคัญของแต่ละตำแหน่งในร้านอาหาร ตั้งแต่ เจ้าของกิจการไปจนถึงผู้ที่รับผิดชอบในการทิ้งขยะ
มาเริ่มกันเลย!
อะไรคือความแตกต่างในแต่ละตำแหน่งของพนักงานร้านอาหาร?
ตำแหน่งที่แตกต่างกันจะช่วยเติมเต็มการดำเนินกิจการของร้านอาหาร
ทุกตำแหน่งมีความสำคัญ เป็นฟันเฟืองเพื่อให้ทุกอย่างในร้านอาหารเป็นระเบียบ และกิจการดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น
ควรจำไว้ว่า ยิ่งร้านมีขนาดใหญ่ ตำแหน่งของพนักงานก็จะ ยิ่งมากและซับซ้อน
บางตำแหน่งอาจมีความจำเป็นน้อยสำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก ซึ่งหมายความว่า ความรับผิดชอบนั้นจะถูกแบ่งให้กับพนักงานที่มีอยู่
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงตำแหน่งทั้งหมดที่มีอยู่ในร้านอาหารหรือโรงแรมขนาดใหญ่ :
- ตำแหน่งงานบริหาร
- ผู้จัดการ
- ผู้ดูแลระบบ
- พนักงานครัว
- หัวหน้าพ่อครัว
- ผู้จัดการครัว
- รองหัวหน้าพ่อครัว
- เชฟประจำสถานี
- กุ๊ก
- ผู้ช่วยกุ๊ก
- ทีมทำความสะอาด
- พนักงานต้อนรับ
- หัวหน้าบริกร
- พนักงานต้อนรับ
- ซอมเมลิเยร์
- พนักงานบาร์
- บริกร
นี่คือบุคลากรที่จำเป็นสำหรับสถานประกอบการที่ต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีแผนผังองค์กรที่ซับซ้อน
ตำแหน่งผู้บริหารร้านอาหาร
ที่ด้านบนสุดของผังองค์กร เราจะพบกับตำแหน่งผู้บริหารของร้านอาหาร
แน่นอนว่า ตำแหน่งนี้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการทุกอย่างที่เกิดขึ้นในร้านอาหาร
1. ผู้จัดการและบทบาทหน้าที่
ผู้จัดการคือ ผู้รับผิดชอบร้านอาหาร ในร้านอาหารเล็ก ๆ ผู้จัดการมักจะเป็นเจ้าของร้านอาหาร
ในบางกรณี ผู้จัดการเป็นเพียงหุ่นเชิด เจ้าของร้านฝากให้ผู้จัดการดูแลทุกอย่างในร้านแทน
บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการจะต้อง:
- กำกับการดำเนินกิจการทั้เรื่องที่สำคัญ ๆ เช่น ธีมของร้านอาหาร การดำเนินงาน และการตัดสินใจด้านการบริหารอื่น ๆางหมด
- ทำหน้าที่ในการตัดสินใจรออกแบบร้านอาหร กลยุทธ์ทางการตลาด และอื่น ๆ
- เป็นคนที่มีความรับผิ
- รับผิดชอบในการจัดกดชอบสูง
เนื่องจากผู้จัดการมีหน้าที่ที่สำคัญมากมาย ผู้จัดการควรเป็นคนที่จบหลักสูตรด้านการบริหารและ การบริการ
2. ผู้ดูแลระบบ หรือ เลขานุการ
ผู้ดูแลระบบหรือเลขาคือ บุคคลที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับเรื่องเงินของร้านอาหาร
พวกเขาทำงานกับนักบัญชีและยุ่งเกี่ยวกับบัญชีธนาคารอยู่เสมอ เนื่องจากเขาต้องรับผิดชอบใน การจัดการเงินทุนของสถานประกอบการ และดูแลให้การใช้เงินทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ พวกเขายังรับผิดชอบในการว่าจ้างและไล่พนักงานออก การจ่ายเงินเดือน การจ่ายเงินรายวัน และทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผลกำไร และ/หรือขาดทุนของสถานประกอบการ
นี่เป็นหนึ่งในตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในร้านอาหาร - หากคุณกำลังมองหางานในร้านอาหาร เขาก็เป็นหนึ่งในคนที่คุณควรสร้างความประทับใจ
พนักงานครัว
หลังจากพูดถึงตำแหน่งบริหาร ต่อไปเราจะพูดถึงตำแหน่งพนักงานครัว หรือที่เรียกกันว่า - จิตวิญญาณของร้านอาหาร
ทำไม? เพราะแม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นพวกเขา (ตอนไปรับประทานอาหาร) แต่พวกเขาคือกระดูกสันหลังของร้านอาหาร
1. เชฟ หรือ หัวหน้าพ่อครัว
เชฟคือ บทบาทที่สำคัญที่สุดอันดับสามในร้านอาหาร รองจากผู้จัดการและเลขา
ตำแหน่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานบริหารและ เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในครัว
หน้าที่:
- สร้างสรรค์เมนูที่แสนอร่อยให้กับลูกค้า ตั้งแต่จานใหญ่ไปถึงจานเล็ก
- กำกับดูแลพนักงานในครัว และสถานีต่าง ๆ
- ตัดสินใจด้านการบริหารเกี่ยวกับอาหารที่จะเสิร์ฟ
- เสริมประสิทธิภาพของทีมงานในครัว
- ติดต่อกับพนักงานคนอื่น ๆ ในร้านอาหาร ตั้งแต่แม่บ้านไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด
ตำแหน่งนี้มีไว้สำหรับพ่อครัวที่มีประสบการณ์สูงเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องมีวุฒิการศึกษาเสริม เช่น อนุปริญญาสาขาศิลปะการประกอบอาหาร เป็นต้น
หัวหน้าพ่อครัวเป็นหนึ่งในตำแหน่งแรกที่ควรคิดถึง ตั้งแต่ก่อนเปิดร้านอาหาร ประสบการณ์ของเขาสามารถช่วยจัดระเบียบให้กับร้านอาหารได้ตั้งแต่เริ่มต้น
2. ฝ่ายจัดซื้อ หรือ ผู้จัดการครัว
ในร้านอาหารขนาดใหญ่ จะมีตำแหน่งผู้จัดการครัว
ในร้านอาหารขนาดเล็ก ตำแหน่งนี้จะรับผิดชอบโดยผู้ดูแลระบบ หรือ หัวหน้าพ่อครัว หรือทั้งสองตำแหน่ง
ผู้จัดการครัวมีหน้าที่ดูแลสต๊อกสินค้าทุกอย่างในครัวให้ครบถ้วน ให้แน่ใจว่า ส่วนผสมทั้งหมดมีพร้อมอยู่เสมอ
3. รองหัวหน้าพ่อครัว
รองหัวหน้าพ่อครัวเปรียบเสมือนมือขวาของหัวหน้าพ่อครัว - หากหัวหน้าไม่อยู่ รองหัวหน้าจะเป็นผู้บังคับบัญชาของทีมทำอาหาร
และดำเนินงานทุกอย่างไปตามคำสั่งของหัวหน้า
โดยปกติแล้ว การรับสมัครตำแหน่งรองหัวหน้าพ่อครับจะเป็นหน้าที่ของหัวหน้าพ่อครัว เพราะทั้งคู่ต้องมีเคมีในการทำงานที่ตรงกัน และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ เป็นเรื่องปกติที่ตำแหน่งรองหัวหน้าจะถูกแต่งตั้งหลังจากผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผ่านประสบการณ์การทำงานในสถานีต่าง ๆ ของครัวเรียบร้อยแล้ว
4. เชฟประจำสถานี
เชฟประจำสถานีจะรับผิดชอบส่วนงานที่เฉพาะเจาะจงภายในครัว
เชฟประจำสถานีจะขึ้นตรงต่อหัวหน้าและรองหัวหน้าพ่อครัว
เชฟประจำสถานีมีหลายประเภท:
- เชฟทำซอส : ควบคุมการทำซอส การปรุงปลา และการปรุงอาหารทะเล
- เชฟทำขนม : รับผิดชอบดูแลคนทำขนม การทำขนมละเครื่องทำไอศครีม
- เชฟทำเนื้อ : ดูแลคนเตรียมเนื้อและการปรุงเนื้อ
- เชฟย่าง : มีหน้าที่ทำอาหารปิ้งย่างและทอด
- ออเดิร์ฟ หรือ พ่อครัวมือใหม่ : ควบคุมดูแลกุ๊ก การทำสตูว์และซุป และการเตรียมผัก
เชฟในแต่ละตำแหน่ง จะมีประสบการณ์ที่สูงมากในตำแหน่งของตัวเอง
5. กุ๊ก
กุ๊กหรือพ่อครัว - ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่งของเชฟประจำสถานี, รองหัวหน้าพ่อครัว หรือหัวหน้าพ่อครัว
ตำแหน่งนี้เป็นหนึ่งในตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในทางปฏิบัติ เนื่องจากพ่อครัวมีหน้าที่เตรียมทุกอย่างที่อยู่บนจานอาหารที่ลูกค้ารับประทาน
6. ผู้ช่วยกุ๊ก
ผู้ช่วยกุ๊กมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกอย่างในแต่ละสถานี โดยไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในการปรุงอาหารหรือเตรียมอาหารใด ๆ
มีหน้าที่เตรียมพื้นที่ทำงาน จัดระเบียบ และทำความสะอาดโต๊ะเตรียมอาหารแต่ละโต๊ะตามคำสั่งของเชฟประจำสถานี
นอกจากนี้ ยังดูแลพื้นที่การประกอบอาหารของแต่ละสถานี ซึ่งรวมถึงพื้นที่เตรียมผัก พื้นที่เตรียมเนื้อ และอื่น ๆ อีกมากมาย
พวกเขายังต้องติดต่อโดยตรงกับทีมทำความสะอาด เนื่องจากต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นจะไปถึงบริเวณเครื่องล้างจานหลังจากใช้งานแล้ว
7. พนักงานทำความสะอาด
พนักงานทำความสะอาดมีความสำคัญเทียบเท่ากับตำแหน่งอื่น ๆ และ ความสำคัญจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสถานประกอบการ
พนักงานทำความสะอาดคือ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องล้างจาน อุปกรณ์ทำความสะอาด เครื่องมือทำงานของพ่อครัว และการทำความสะอาดห้องครัวโดยทั่วไป
ในร้านอาหารขนาดเล็ก พนักงานทำความสะอาดมักจะรับผิดชอบแค่เครื่องล้างจาน เนื่องจากพนักงานครัวในแต่ละสถานีทำความสะอาดสถานีของตัวเองในตอนท้ายของแต่ละวัน
บทบาทและหน้าที่ของพนักงานต้อนรับ
หลังจากพูดถึงพนักงานที่มักมองไม่เห็นเมื่อไปรับประทานอาหารไปแล้ว ต่อไปเราจะพูดถึงพนักงานที่ต้องเจอเมื่อไปรับประทานอาหารในร้านอาหาร
1. หัวหน้าฝ่ายต้อนรับหรือหัวหน้าบริกร
หัวหน้าฝ่ายต้อนรับหรือหัวหน้าบริกรมักเป็นตำแหน่งเดียวกัน
ตำแหน่งนี้มีความสำคัญต่อความสะดวกสบายของผู้มาใช้บริการ
หน้าที่:
- พาลูกค้าไปที่โต๊ะและเสนอเมนู
- ให้คำสั่งโดยตรงกับบริกร เพื่อให้มั่นใจว่าบริกรได้ให้บริการลูกค้าเป็นอย่างดี
- ใส่ใจกับความต้องการของลูกค้า
- ให้บิลเมื่อสิ้นสุดการให้บริการ
- มีหน้าที่ฝึกอบรมพนักงานเสิร์ฟและพนักงานทำความสะอาดใหม่
ตำแหน่งนี้สงวนไว้สำหรับผู้ที่ ได้รับการฝึกอบรมในด้านการบริการและการดูแลลูกค้า พวกเขาควรมีทักษะทางสังคมที่ยอดเยี่ยมด้วย
นอกจากนี้ บางครั้งร้านอาหารของคุณจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีทักษะเฉพาะ เช่น สามารถพูดได้หลายภาษา มีความรู้เกี่ยวกับไวน์ เพื่อทำหน้าที่ซอมเมลิเย่ร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
2. พนักงานต้อนรับ
พนักงานต้อนรับคือ ผู้ที่รับผิดชอบในการรับแขกและยืนยันการจอง - ชักชวนลูกค้าให้แวะมาทานอีกโดยการแจกส่วนลด
ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ ควรเป็นคนที่พูดเก่งและมีมารยาทดี
3. ซอมเมลิเย่ร์
เมื่อพูดถึงร้านอาหารขนาดใหญ่ ซอมเมอลิเย่ร์เป็นตำแหน่งที่สำคัญ
ซอมเมลิเย่ร์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ งานของเขาคือแนะนำไวน์ที่เหมาะสมกับโอกาสและ/หรืออาหาร ให้กับลูกค้า
นอกจากนี้ ซอมเมลิเย่ร์จะต้องพูดคุยโดยตรงกับหัวหน้าหรือรองหัวหน้าพ่อครัวเพื่อค้นหาไวน์หรือเครื่องดื่มที่เหมาะกับอาหารแต่ละจานให้มากที่สุด
4. พนักงานบาร์
ในร้านอาหารขนาดใหญ่มักจะมีบาร์สำหรับผู้ที่มารับประทานอาหาร เพื่อรอเพื่อน หรือ โต๊ะที่จองไว้
พนักงานบาร์มีหลายตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น:
- บาร์เทนเดอร์ พูดคุยกับลูกค้า และทำค็อกเทลตามความชอบของลูกค้า บาร์เทนเดอร์ต้องมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับการผสมเครื่องดื่ม และเทคนิคการทำเครื่องดื่มต่าง ๆ
- ผู้ช่วยบาร์เทนเดอร์ - เช่นเดียวกับผู้ช่วยในครัว ผู้ช่วยบาร์เทนเดอร์จะเตรียมทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับบาร์เทนเดอร์ในการทำค็อกเทล รวมถึงการเตรียมส่วนผสมและการทำความสะอาดบริเวณบาร์
- บาริสต้า : บาริสต้ามีหน้าที่ทำเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ เชค สมูทตี้ และอื่น ๆ บางครั้งบาร์เทนเดอร์ก็ทำหน้าที่เป็นบาริสต้าได้ ถ้ามีประสบการณ์ในการทำเครื่องดื่มที่กล่าวมา
ในร้านอาหารขนาดเล็ก ตำแหน่งเหล่านี้อาจตกเป็นของพนักงานเสิร์ฟที่มากประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม เป็นวิธีที่ไม่แนะนำเพราะไม่มีประสิทธิภาพ
5. บริกร: ประเภทและหน้าที่ของบริกร
บริกรหรือพนักงานเสิร์ฟ อยู่ในส่วนต้อนรับของร้านอาหาร
พนักงานเสิร์ฟมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านอาหารขนาดใหญ่:
- บริกร : มีหน้าที่ในการสั่งอาหารไปที่ครัว และจัดส่งอาหารทันทีที่พร้อม ในร้านอาหารขนาดเล็ก บริกรมีหน้าที่ทำความสะอาดและจัดโต๊ะเมื่อลูกค้าทานเสร็จ หน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การส่งบิลให้ลูกค้า รับเรื่องร้องเรียนหรือคำแนะนำจากลูกค้า สื่อสารกับพนักงานในครัว และจัดทำบิลสำหรับการบริการ
- พนักงานเสิร์ฟ : ในร้านอาหารขนาดใหญ่ พนักงานเสิร์ฟมีหน้าที่แค่นำอาหารไปเสิร์ฟที่โต๊ะของลูกค้า ต้องทำงานเป็นทีม เพื่อให้อาหารทุกจานวางถึงโต๊ะพร้อมกันและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ความจริงเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่บริกรควรทำ
- ทีมทำความสะอาด: ในร้านอาหารขนาดใหญ่ ทีมทำความสะอาดมีหน้าที่ทำความสะอาดและจัดโต๊ะอาหารแต่ละโต๊ะ โดยเฉพาะหลังจากที่ลูกค้าออกไปแล้ว
บริกรคือบุคคลที่เรามักจะพูดคุยมากที่สุดเมื่อไปถึงร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารประเภทไหนก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ บริกรจึงเป็นส่วนสำคัญในการให้บริการในร้านอาหาร!
ผังองค์กรสำหรับพนักงานในร้านอาหาร
ผังองค์กรต่อไปนี้ เป็นผังองค์กรสำหรับร้านอาหารขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นภาพเกี่ยวกับลำดับชั้นของตำแหน่งต่าง ๆ มากขึ้น
อยากจะเน้นย้ำว่า ไม่ว่าผังองค์กรจะมีลักษณะแบบไหน พนักงานทุกคนต้องมี ความเคารพซึ่งกันและกัน
ในร้านอาหารหลายแห่ง พนักงานปฏิบัติต่อกันเหมือนเป็นครอบครัว ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาประสิทธิของการทำงานเป็นทีม
นี่คือสิ่งที่ผู้จัดการ เลขานุการ และหัวหน้าพ่อครัวควรให้ความสนใจ!
เคล็ดลับ: ร้านอาหารที่มีการจัดผังองค์กรเป็นอย่างดี มักจะประสบความสำเร็จ
ตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง มีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการของร้านอาหารอย่างมาก
หากตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งทำงานผิดพลาด ร้านอาหารจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียกำไรทันที
- ถ้าไม่มีคนที่บริหารจัดการงบประมาณได้ดี ร้านอาหารไม่สามารถดำเนินกิจการแบบยั่งยืนได้
- ถ้าไม่มีคนทำอาหาร ร้านอาหารก็ไม่สามารถให้บริการได้
- ถ้าไม่มีคนเสิร์ฟ ก็ไม่มีลูกค้าคนไหนสามารถทานอาหารได้
- ถ้าไม่มีคนทำความสะอาดและจัดระเบียบร้านอาหาร ภาระงานก็จะตกไปอยู่ที่พนักงานคนอื่น หรืออาจจะไม่มีใครกล้าเข้ามาในร้านตั้งแต่แรก!
ดังนั้น ทุกครั้งที่เราออกไปทานอาหารในร้านอาหาร ให้สังเกตว่า การทำงานร่วมกันระหว่างคนอย่างน้อย 10 คนหรือมากกว่า เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับมื้ออาหารของเราได้
อย่าลืมให้ทิป!
บทความที่เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของร้านอาหารมือใหม่
ต่อไปนี้ คือบทความบางส่วนจากบล็อกของเราที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของร้านอาหารมือใหม่:
- การตลาดร้านอาหาร ทำอย่างไร ? 24 ไอเดีย
- รายการอุปกรณ์ที่ร้านอาหารของคุณต้องมี